fbpx
Skip to content

4 เคล็ดลับ ออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร

การออกแบบและสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารให้ได้ผลดีตามคาดเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเปิดตัวอาหารของคุณให้ได้ยอดขายตามที่วางแผนไว้ และการปกป้องรักษาคงสภาพอาหารของคุณไม่ว่าจะนำไปวางจำหน่ายที่ไหน วันนี้เรามี 4 ทิป เคล็ดลับนำมากบอกต่อ

ในหลายๆวงการเช่น วงการแฟชั่นคุณอาจต้องเลือกระหว่าง ความสะดวกสบายกับสไตล์ แต่ในวงการบรรจุภัณฑ์ โชคดีที่คุณเลือกเอาได้ทั้ง 2 อย่าง ระหว่าง “การปกป้องรักษาคงสภาพอาหาร” และ “ความสวยงาม” ซึ่งการมีไว้ทั้ง 2 สิ่ง จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการวางขายอาหารของคุณตามช่องทางต่างๆ

บรรจุภัณฑ์หลัก vs บรรจุภัณฑ์รอง (Primary vs secondary packaging)

ก่อนเข้าเรื่อง เราจำเป็นต้องทราบความแตกต่างระหว่าง บรรจุภัณฑ์หลัก vs บรรจุภัณฑ์รอง (Primary vs secondary packaging)
บรรจุภัณฑ์หลัก (Primary packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ชั้นที่ผิวสัมผัสด้านในมีการสัมผัสกับตัวอาหารโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น อลูมิเนียม ฟอยล์ห่อ ธัญพืชอบกรอบผสมถั่วและผลไม้อบแห้งชนิดแท่ง (Nutrition Bar) ถุงพลาสติกใสแบบฉีกได้บรรจุแผ่นซีเรียลอาหารเช้า หรือ ขวดแก้วที่บรรจุเครื่องดื่ม
บรรจุภัณฑ์รอง (Secondary packaging) คือบรรจุภัณฑ์ชิ้นที่สอง ที่ห่อหุ้มปกป้องบรรจุภัณฑ์หลักอีกทีนึง โดยปกติแล้ว บรรจุภัณฑ์รอง จะไม่มีผิวสัมผัสกับอาหารของคุณโดยตรง และ จุดประสงค์หลักของมันคือทำหน้าที่ปกป้องบรรจุภัณฑ์หลักเอาไว้จากสภาพแวดล้อมภายนอก และยังทำหน้าที่เหมือนฉากหน้าให้ของสินค้าคุณมีพื้นที่บอกเล่าข้อมูลของสินค้าหรืออาหาร และแสดงอัตลักษณ์การออกแบบที่สื่อถึงแบรนด์และตัวตนของสินค้าคุณ และเมื่อโยงไปยังตัวอย่างจริง มันคือ กล่องพับได้สำหรับซีเรียลอาหารเช้า และ กล่องแสดงสินค้าบรชั้นแบบพับได้สำหรับธัญพืชอบกรอบผสมถั่วและผลไม้อบแห้งชนิดแท่ง (Nutrition Bar)
มาถึงตอนนี้คุณน่าจะพอมองเห็นภาพ ถึงเวลสเผยเคล็ดลับการออกแบบ บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารกันแล้ว

1. เริ่มต้นที่แบรนด์ของคุณ

แหล่งที่มา: Marketingopps, SMEThailandclub

เล่าเรื่องให้เป็นยอดขาย อย่าง “กาแฟวิเชียรมาศ” ที่ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ 90% หรือ ปรับปรุง ปลุกแบรนด์ให้เข้ากับยุคสมัยแบบ “แม่ประนอม” สองแบรนด์นี้ทำสิ่งที่เหมือนกันคือ สื่อสารคุณค่าของแบรนด์และข้อความไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายผ่านทาง สินค้า บริการ บรรจุภัณฑ์ และช่องทางสื่อสารต่างๆ โดยผลลัพธ์คือความเชื่อมั่นที่จะเกิดขึ้นในใจของลูกค้า
ถึงแม้นว่าตัวบรรจุภัณฑ์จะถูกออกแบบมาและผลิตอออกมาได้สวยงาม แต่หากไม่ได้สอดประสานกับแก่นของธุรกิจและคุณค่าและตัวตนของแบรนด์ ยอดขายสินค้า/อาหารก็อาจไม่เป็นไปดังหวัง เพราะฉะนั้นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการทำหน้าที่เชื่อมต่อสื่อสารกับผู้บริโภคในหลายมิติจนมั่นใจและซื้อสินค้าในที่สุด โดยหลังจากที่คุณมีภาพและรายละเอียดของแบรนด์ที่ชัดเจนแล้วคุณสามารถเริ่มต้นออกแบบหรือจ้างออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารของคุณตามคุณค่าและเป้าหมายของธุรกิจคุณ

2. โฟกัสที่ “ความดึงดูดบนชั้นสินค้า” และ “ฟังก์ชัน” (Shelf appeal & functionality)

เมื่อไรก็ตามที่มีการพบปะครั้งแรก ทุกคนหรือสิ่งของ มักต้องการ “ความประทับใจ” ณ แรกพบ และเมื่อผู้บริโภคเดินในซุปเปอร์ มาร์เก็ต ผ่านไปที่ชั้นวางสินค้า สินค้าของคุณมีโอกาสเพียงเสี้ยววินาทีเพื่อดึงความสนใจจากสินค้าของคู่แข่ง และไม่กี่วินาทีเพื่อโน้มน้าวให้วางลงตระกร้า
ฟังก์ชันของบรรุจภัณฑ์ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องถูกออกแบบเชิงโครงงสร้างมาอย่างดีเพื่อมีโครงสร้างมีความมั่นคงและความแข็งแรงพอในการสนับสนุนปกป้องรักษาตัวสินค้าด้านใน


เมื่อได้ลองผลิตงานตัวอย่างให้ลองถามตัวคุณเองสำหรับงานแต่ละชิ้นว่า นี่คือสี ขนาด รูปทรง น้ำหนัก ที่ถูกต้องรึเปล่า? สินค้าของคุณตัวนี้ต้องการพื้นที่บนชั้นวางสินค้าเยอะแต่ไหน? จะฉีก จะโดดเด่นจากของคู่แข่งที่วางอยู่ข้างรึยัง จะดีขึ้นด้วยการเพิ่มขึ้นหรือลดรายละเอียดส่วนไหนของตัวบรรจุภัณฑ์ และคุณสามารถมองเห็นและเข้าใจรายละเอียดข้อมูล คุณสมบัติของสินค้าได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับตัวสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ชิ้นนี้แล้วรึยัง

3. เลือกวัสดุที่เหมาะสมให้บรรจุภัณฑ์ของคุณ

เมื่อตัวสินค้าเป็นอาหาร สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์คือ การถนอมอาหร และ การปกป้องอาหารจากภายนอก หลังจากเลือกได้แล้วสิ่งนี้มักจะสะท้อนเกี่ยวข้องกับการคิดต้นทุนวัสดุ การออกแบบ การพิมพ์ ค่าแรง และ ค่าจนส่งในแต่ละล็อตของการผลิต

4. ระบุข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นบนบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ของคุณต้องระบุข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญเพื่อที่ผู้บริโภคจะได้เข้าใจได้อย่างทันทีและถูกต้องเกี่ยวกับสินค้าที่พวกเค้ากำลังจะซื้อ การจัดวางตำแหน่งของข้อมูลและงานกราฟิกเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งและเกียวข้องกับการสร้างความประทับใจกับผู้บริโภคด้วย ข้อควรระวังคือเรื่องข้อมูลที่มากจนเกินไปที่อยู่ตามจุดต่างๆของบรรจุภัณฑ์อาจทำให้ผู้อ่านขี้เกียจอ่านและรีบวางสินค้ากลับที่เดิม เราจึงรวมรวมข้อมูลที่จำเป็นในการใส่ ลงบนบรรจุภัณฑ์

  1. คุณสมบัติและจุดเด่นของสินค้า
  2. ข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้
  3. โลโก้ ตราสินค้า
  4. ปริมาณสารอาหาร
  5. บาร์โค้ด
  6. ข้อมูลบริษัท
  7. วันที่ผลิตและวันหมดอายุ
  8. สิ่งสุดท้ายอย่าลืมระบุข้อมูลที่จำเป็นต้องระบุตามข้อกำหนดของ อย. (FDA)

เลือกสเปคและประเมิณราคางานกล่องบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ที่นี่

หรือ เลือกพิมพ์ฉลากและสติ๊กเกอร์สำหรับแปะบนขวดและถุงอาหารของคุณ ที่นี่

ให้เราออกแบบและดำเนินการผลิตบรรจุภัณฑ์​ ติดต่อ 061-398-6826 หรือ add line @619qdilv

สินค้าแนะนำ

เครื่องมือและการสนับสนุน

ให้บริการเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

คลิ๊กติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่าง หรือ โทรสายด่วน 061-398-6826

ปริ้นท์ดอค (PRINTs' dock) ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีสุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่คุณ หากคุณดำเนินการต่อ หรือปิดข้อความนี้ลง เราถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้และ นโยบายความเป็นส่วนตัว