ขั้นตอนการสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของคุณ
จากผลวิจัยพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคจะกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ และ จำนวนมากจะแชร์ลงสื่อโซเชียมีเดียของตัวเองหากได้รับสินค้าที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ดูดีคุณภาพเยี่ยม
ในการนำพาไอเดียของการสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าแต่ละตัวไปสู่ความเป็นจริงในรูปแบบของต้นแบบ หรือ ม็อคอัพเวอร์ชั่นต่างๆ จนออกมาอยู่ในไลน์การผลิตได้นั้นเป็นงานที่ท้าทายมนุษย์เสมอมา และมีปัจจุยๆหลายอย่างหลายรูปแบบมากที่จำเป็นต้องนำไปพิจารณาสำหรับการวางแผนงานหรือการตัดสินใจ PRINTs’ Dock จึงได้รวบรวม เขียนแนวทางที่คลอบคลุมขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับผู้ที่อยากมีบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า
- ในการนำพาไอเดียของการสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าแต่ละตัวไปสู่ความเป็นจริงในรูปแบบของต้นแบบ หรือ ม็อคอัพเวอร์ชั่นต่างๆ จนออกมาอยู่ในไลน์การผลิตได้นั้นเป็นงานที่ท้าทายมนุษย์เสมอมา และมีปัจจุยๆหลายอย่างหลายรูปแบบมากที่จำเป็นต้องนำไปพิจารณาสำหรับการวางแผนงานหรือการตัดสินใจ PRINTs’ Dock จึงได้รวบรวม เขียนแนวทางที่คลอบคลุมขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับผู้ที่อยากมีบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า
1. เตรียมการ วางแผน สำหรับบรรจุภัณฑ์
ก่อนไปถึงขั้นตอนต่างๆ เราจำเป็นต้องประเมิณ และชี้ชัดรายละเอียดใน 3 เรื่องหลัก สำหรับบรรจุภัณฑ์ของคุณ
- ต้นทุนด้านการผลิตและการขนส่งทั้งหมด
- ทางเลือกทั้งหมดสำหรับผลิตบรรุจภัณฑ์ของคุณคืออะไรบ้าง
- บรรจุภัณฑ์ที่ดี่ที่สุดสำหรับสินค้าของคุณคืออะไร
โดยเริ่มต้นด้วยการตอบคำถามเหล่านี้
ก. สินค้าของคุณเป็นสินค้าประเภทไหน?
เพราะบรรจุภัณฑ์จะเปลี่ยนและแปรผันไปกับ ขนาด รูปทรง และ น้ำหนัก ของตัวสินค้า และหากพิเศษไปกว่านั้น เช่น สินค้าเป็นประเภทแตกหักง่าย เปราะบาง คุณอาจะเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ มี หรือ เพิ่มคุณลักษณะที่ มีโครงสร้างป้องกันหรืลดแรงกระแทกสินค้าจากแรงกระแทกภายนอกได้
ข. กำหนดการและกรอบเวลาที่จะใช้สินค้าเป็นอย่างไร
กำหนดการและกรอบเวลาในการใช้สินค้าสามารถดูได้จาก 2 สถานการณ์ คือ วันเปิดตัวสินค้า และ วันเติมสต็อกสินค้า
ค. งบประมาณและ จำนวนที่คุณจะผลิตกี่ชิ้นในล็อตนี้
คุณต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของคุณซักกี่ชิ้นดี? 100 ชิ้น? 500 ชิ้น? 1,000 ชิ้น? 10,000 ชิ้น? ซึ่งจำนวนเหล่านี้ที่คุณจะเลือก จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตบรรจุภัณฑ์โดยตรงรวมถึงค่าขนส่ง เพราะฉะนั้น เลือกให้ตอบโจทย์ที่สุดทั้งเรื่องของ เวลา จำนวน และ ต้นทุน (งบประมาณ)
"คุณสามารถอ้างอิงชาร์ตด้านล่างที่แนะแนวลำดับราคาของของบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท เพื่อประกอบการวางแผนและตัดสินใจสั่งผลิตบรรจุภัณฑ์ของคุณ"
*หากคุณยังมีคำถามเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนและรายละเอียดดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญจากเรา ยินดีให้คำปรึกษา คุณสามารถติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆได้ทันที
2. วัดขนาดกล่องสินค้าที่ต้องการผลิต
การวัดขนาด ของกล่องหรือสินค้านั้นเป็นเรื่องสำหคัญเปรียบเสมือนกระดุมเม็ดแรกของการทำกล่องบรรจุภัณฑ์ เพราะมันจะเกี่ยวข้องไปยังพื้นที่การออกแบบลายของกล่อง ต้นทุนการผลิต และ ต้นทุนการขนส่งและต้นทุนของการเก็บรักษา
โดยทั่วไปมักวัดระยะใน 3 แนว คือ ความยาว x ความกว้าง x ความสูง (หรือลึก) และต้องวัดด้านในกล่อง ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่สินค้าคุณถุกบรรจุอยู่เท่านั้น
ห้ามวัดขนาดกล่องจากด้านนอกเด็ดขาดเพราะความหนาของกระดาษและแนวพับอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของพื้นที่ในกล่อง ทำให้บรรจุสินค้าได้ไม่พอดี คับ หรือหลวมไป
ข้อแนะนำ: กระบวนการวัดขนาดสินค้าหรือขนาดกล่องที่จะผลิตนั้นสำคัญมาก คุณต้องแน่ใจว่าวัดและกะระยะได้ถูกต้องที่จะทำให้กล่องที่ผลิตออกมามีขนาดภายในที่สวมใส่สินค้าของคุณได้พอเหมาะ ไม่เคลื่อนไหว เสียดสีจนเกิดความเสียหายระหว่างขนส่ง
3. เลือกชนิดของกล่องบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า
- กล่องกระดาษพับได้ (Folding carton) : ตัวเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น ด้านสไตล์ที่มีให้เลือกมากมาย ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บและขนส่ง อีกทั้งยังมีราคาเบาสบาย กล่องกระดาษแบบพับได้มีให้เลือกหลายรูปแบบโดยรูปแบบที่นิยมมากที่สุดคือ กล่องพับฝาเสียบ สามารถกดเช็คราคาและสั่งออนไลน์ได้ >>ที่นี่<< หรือดูรายละเอียดสำหรับพิมพ์กล่องแบบอื่นๆได้ >>ที่นี่<<
- 2. กล่องลูกฟูก (Corrugated Box): ตัวเลือกสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ต้องการฟังก์ชั่นการรับแรงกระแทกและการเสียดสีหรือรับน้ำหนักกดทับจากภายนอก
- 3. กล่องจัวปัง หรือ กล่องแข็งพิเศษ (Rigid box): ถ้าคุณกำลังมองหากล่องบรรจุภัณฑ์ที่ให้ความรู้สึกพรีเมี่ยมและดูแพง กล่องจั่วปังคือตัวเลือกที่ดีที่สุด
กล่องประเภทนี้จะมีความหนามากกว่ากล่องกระดาษพับได้ทั่วไป โดยจะมีชั้นกระดาษที่พิมพ์แล้วห่อกระดาษจั่วปังที่มีความหนาอย่างน้อย 3 มม. อีกที
บรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ
มีบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นๆที่คุณอาจพิจารณาเป็นทางเลือกสำหรับธุรกิจของคุณ นอกเหนือจากทำกล่อง เช่นตัวอย่างด้านล่าง
ถุงกระดาษ มีทั้งในรูปแบบถถุงเพ้าส์ซิ๊ปล็อคสำหรับของกินและขนม ถุงกระดาษคราฟท์ชนิดบางสำหรับใส่อาหารชั้นที่สอง และ ถุงหิ้ว ซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะราคาถูกและนำมาใช้ซ้ำได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซองไปรษณีย์กันน้ำ Poly Mailer ก็เป็นทางเลือกที่ประหยัด และ นิยมสำหรับธุรกิจค้าขายออนไลน์อี คอมเมิร์ซ สำหรับบรรจุสินค้าที่ไม่ใหญ่มาก
บรรุจุภัณฑ์พลาสติก สามารถถูกเลือกใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น กล่อง ขวด ถุง หลอด และอีกมากมาย
บรรุจุภัณฑ์ทำจากแก้ว มักมาในรูปแบบขวด ขวดโหล กระปุก ให้ความรู้สึกที่ดูหรูหรามั่นคงกว่าแบบพลาสติก และ ที่สำคัญสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้
4. เลือก ชั้นเสริม สำหรับบรรจุภัณฑ์
เพื่อเป็นการเพิ่มคุณสมบัติด้าน การป้องกันและการจัดเรียงสินค้า ให้กับตัวบรรจุภัณฑ์ คุณสามารถลองเลือกชั้นเสริมตามตัวอย่างด้านล่างให้กับบรรจุภัณฑ์ของคุณ
ชั้นเสริมแบบโฟม สามารถปกป้องของที่เปราะบางแตกง่ายได้ดีกว่าเดิมในระหว่างการขนส่ง เพราะช่วยให้สินค้ากระชับไม่มีช่องว่างกับตัวบรรจุภัณฑ์ด้านนอก และยังช่วยเพิ่มความรู้สึกเนียนหรูหราเวลาสัมผัส แถมยังให้ประสบการณ์การเปิดกล่องสินค้าให้น่าประทับใจกว่าเดิม
ชั้นเสริมแบบถาดพลาสติก หรือเรียกว่าถาดบลิสเตอร์ มีน้ำหนักเบา และยืดหยุ่น สามารถผลิตได้ตรงตามรูปร่างของสินค้าและช่องว่างระหว่างตัวสินค้ากับบรรจุภัณฑ์
ชั้นเสริมแบบการ์ดบอร์ด (กระดาษกล่อง) เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุด และสามารถพิมพ์ลายได้ตามต้องการ โดยชิ้นส่วนนี้สามารถสั่งผลิตแยกหรือติดกับตัวกล่องบรรจุภัณฑ์ได้เลย หรือ ใช้ในรูปแบบแผ่นหรือโครงสร้างกระดาษบอร์ดที่เอาไว้เป็นที่กั้นในตั้วบรรจุภัณฑ์
ชั้นเสริมแบบเยื่อกระดาษขึ้นรูป (Molded Pulp) เป็นตัวเลือกที่ย่อยสลายง่ายที่สุด สามารถขึ้นรูปด้วยการอัดเยื่อกระดาษได้ตามรูปทรงที่ต้องการ
5. เลือกวิธีการพิมพ์
หลังจากคุณเลือกได้แล้วว่าจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบไหนบ้างสำหรับสินค้าของคุณ ต่อไปจะเป็นขั้นตอนของการเลือกเมธอดหรือเทคนิคการพิมพ์แบบต่างๆให้เหมาะสมตามวัสดุ ของบรรจุภัณฑ์ที่คุณเลือก
1.พิมพ์ระบบออฟเซ็ท ระบบพิมพ์ออฟเซ็ทใช้หมึกในการพิมพ์ร่วมกับเพลทที่ต้องผลิตออกมาสำหรับแต่ละสีที่ต้องใช้ ให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดีเยี่ยมสำหรับสิ่งพิมพ์เพื่อการค้า (Commercial Printing) ระบบนี้จะถูกใช้มากเวลามีการผลิตงานพิมพ์ที่มีจำนวนพิมพ์หลายพันขึ้นไป (Mass Production) ซึ่งราคาต่อชิ้นจะลดลงสวนกับจำนวนสั่งพิมพ์ที่เพิ่มมากขึ้น
2.พิมพ์ระบบดิจิตอล ระบบพิมพ์ดิจิตอลใช้ระบบพิมพ์เลเซอร์โทนเนอร์หรืออิงค์เจ็ทแบบเดียวกับเครื่องปริ้นเตอร์ที่อยู่ตามบ้านและออฟฟิส แต่เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าถูกสร้งมาเพื่อผลิตสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะ สิ่งที่ระบบพิมพ์ดิจิตอลให้กับผู้ที่เลือกใช้คือ ความรวดเร็ว และ ไม่มีขั้นต่ำ เพราะไม่ต้องทำเพลทแบบระบบออฟเซ็ท ทำให้การผลิตในจำนวนน้อยๆมีราคาถูกกว่าออฟเซ็ท แต่สิ่งที่ระบบออฟเซ็ทมีเหนือกว่าคือความหลากหลายทางด้านการใช้สี และ ใช้วัสดุในการพิมพ์ได้หลากหลายกว่า
3.พิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟี ถูกนิยามให้เป็นระบบการพิมพในยุคใหม่ที่รองรับจำนวนการผลิตได้มหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว โดยมากแล้วจะถูกใช้พิมพ์ฉลากสินค้าและสติ๊กเกอร์แบบม้วน ตั้งแต่ 1 หรือ 2สี จนถึง 7สี โดยข้อแตกต่างกับระบบออฟเซ็ทและดิจิตอลคือสีจะไม่จัดจ้านเท่า แต่จะให้คุณค่าด้านราคาหรือต้นทุนที่ไม่แพงมากกว่า
ทำความเข้าใจเรื่องการใช้สีกับการพิมพ์
ในการสร้างอาร์ตเวิร์คเพื่อระบบพิมพ์ มาตรฐานสีที่ใช้กันคือ CMYK ย่อมาจาก Cyan, Magenta, Yellow, และ Key (Black) ซึ่งการทำงานกับโหมดสี CMYK ในโปรแกรมอย่าง Adobe illustrator หรือ Photoshop จะทำให้ผลงานหลังออกมาจากแท่นพิมพ์มีสีที่ตรงตามความต้องการตอนขั้นตอนการออกแบบมากที่สุด
PMS หรือย่อมาจาก Pantone Matching System หรือระบบการเทียบสีแพนโทน หรือ สีสปอต หรือ เรียกกันตามภาษาโรงพิมพ์ว่า สีตาย หากแบรนด์หรือธุรกิจต้องการให้สีงานพิมพ์ออกมาตรงตามเบอร์สีโลโก หรือ สีของตีมสินค้า สามารถเลือกเบอร์สีแพนโทน ในชิ้นงานอาร์ตเวิร์คเพื่อให้โรงพิมพ์นำไปทำเทียบสีตอนพิมพ์ได้ แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการผลิตมากกว่าการสั่งพิมพ์ปกติ
6. เลือกการเคลือบ (Coating)
การเคลือบแบบต่างๆจะถูกนำมาใช้เพื่อกำหนดลุคหรือผิวสัมผัสสุดท้ายและการป้องกันชั้นพิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ต่อสภาวะภายนอกเช่น รอยขูดขีด น้ำ ความชื้น ความร้อน การซีดจากแสง และ รังสียูวี
1.เคลือบด้วยฟิล์มลามิเนต (Lamination) เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากเพราะให้ผิวและสัมผัสได้หลายรูปแบบ เช่น ผิวเงา มัน ด้าน ด้านแบบละเอียด(หรือซอฟทัช) หรือลายโฮโลแกรมต่างๆ โดยฟิล์มเงาจะให้การป้องกันต่อ ฝุ่น น้ำและความมันดีกว่าฟิล์มผิวด้าน
2.เคลือบยูวี (UV coating) การเคลือบยูวีจะให้คุณสมบัติและลักษณะคล้ายกับเคลือบลามิเนต ต่างตรงไม่ต้องใช้ชั้นฟิล์มในการเคลือบ แต่ใช้น้ำยายูวีเคลือบและทำแห้งด้วยลำแสงยูวี
7. เพิ่มเอฟเฟคพิเศษ (Embellishment)
หากต้องการเพิ่มจุดดึงดูด ความตราตรึง หรือคุณลักษณะพิเศษให้บรรจุภัณฑ์ของคุณ ด้านล่างคือทางเลือกในการเพิ่มเอฟเฟคให้บรรจุภัณฑ์ของคุณ
1.ปั้มฟอยล์ (Foiling) หากคุณต้องการใส่สี ฟอยล์ เมทัลลิค ด้าน หรือ เงา หรือ โฮโลแกรม บริเวณโลโก้หรือจุดที่ต้องการเน้น การใช้ฟอยล์ปั้ม/ประกบถือเป็นตัวเลือกลำดับแรกๆและได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในไทยและต่างประเทศ
2.เงาเฉพาะจุด (Spot UV) สำหรับคนที่ต้องการความเงาเฉพาะบางพื้นที่บนชิ้นงานพิมพ์/บรรจุภัณฑ์
3.ปั้มนูน (Embossing) สำหรับคนที่ต้องการความนูนเฉพาะจุดบนงานพิมพ์/บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบริเวณโลโก้และตัวหนังสือ
4.ปั้มจม (Debossing) ตรงข้ามกับปั้ัมนูน สำหรับคนที่ต้องการความลึกเฉพาะจุดบนงานพิมพ์/บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบริเวณโลโก้และตัวหนังสือ
5.การเจาะหน้าต่าง (Window Patching) เหมาะสำหรับการเว้นที่ว่างบนกล่อง/บรรจุภัณฑ์ พร้อมติดฟิล์มใสบริเวิณนั้นของด้านใน ทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นสินค้าด้านในได้
8. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
เพื่อเป็นการจัดวางอัตลักษณ์ของสินค้าและแบรนด์ของคุณให้ถูกต้อง จนไปถึงรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องดึงดูดและทำงานในเชิงการสื่อสารกับคนซื้อ สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากการถูกออกแบบไว้อย่างดี
หากคุณไม่มีนักออกแบบที่ไว้ใจ คุณสามารถใช้บริการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ที่แหล่งที่เรารวบรวมไว้ด้านล่าง
- Fiverr – แหล่งรวมนักออกแบบระดับอินเตอร์
- Fastwork – รวมนักออกแบบฟรีแลนซ์ชาวไทย มีราคาและบริการให้เลือกหลากหลาย
- PRINTs’ Dock Design – บริการออกแบบและควบคุม ดำเนินการผลิต สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
9. ออกแบบเส้นพับ/รูปทรงเส้นตัด และการเตรียมอาร์ตเวิร์ค
หากคุณได้งานออกแบบมาอยู่ในมือแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเอางานออกแบบ 2 มิติ ส่งต่อ เข้าไปลงกับงานออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์หรือกล่องบรรจุภัณ์ หรือที่เราเรียกกันว่างาน DieLine
แต่ก่อนจะมาขั้นตอนนี้ มีอยู 2 สิ่งที่คุณและนักออกต้องคำนึงถึง
- Dielines ส่วนใหญ่จะถูกสร้างในคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรมเช่น Adobe illustrator และ CorelDraw ซึ่งงานออกแบบอาร์ตเวิร์คมักถูกสร้างพร้อมๆเส้น Dielines ในขั้นตอนนี้ จึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบต้องระมัดระวังเรื่องการให้หน่วยวัด และ มิติ ขอบเขต ขนาดของแต่ละบริเวิณของตัวชิ้นงาน เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากขั้นตอนการออกแบบและกำหนด Dielines หากนักออกแบบต้องการทราบข้อจำกัดด้านการผลิต ต้องหารือกับฟากฝั่งผลิตตั้งแต่ขั้นตอนนี้
2.การเตรียมอาร์ตเวิร์คร่วมกับ Dielines เมื่อมาถึงจุดนี้คุณต้องมั่นใจว่าทุกองค์ประกอบและชิ้นส่วนของงานออกแบบอยู่ในรูปแบบของเวคเตอร์ (Vector) ซึ่งจะทำให้ยืดหดปรับขนาดของตัวงานได้แบบไม่ลดทอนคุณภาพของภาพ และหากถ้าต้องมีการใช้รูปภาพจริงในชิ้นงาน โปรดใช้ภาพที่มีความละเอียดอย่างน้อย 300 DPI ซึ่งเป็นความละเอียดเดียวกับตัวชิ้นงาน
"หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการออกแบบและ Dielines เรายินดีช่วยเหลือตลอดเวลา โปรดติดต่อเราได้ทันที"
10. การทำชิ้นงานตัวอย่าง (Prototyping)
ก่อนการผลิตจริงหากคุณต้องการเห็นตัวอย่างชิ้นงานก่อนผลิต คุณสามารถติดต่อเราเพื่อทำตัวอย่างแบบรูปจำลอง 3 มิติ หรือ ตัวอย่างชิ้นงานจริง เรามีให้บริการแบบเต็มรูปแบบในราคาไม่แพง
11. การผลิตและการจัดส่ง (Production and Shipping)
หลังจากที่ยืนยัน งานออกแบบหรืองานตามตัวอย่างแล้ว บรรจุภัณฑ์ของคุณก็พร้อมแล้วที่จะถูกผลิต สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ผ่อนคลาย นั่งรอรับสินค้าอยู่ที่บ้านหรือออฟฟิสคุณ หรือจะเป็นปลายทางอื่นๆที่คุณกำหนด เราก็จัดให้
"และนั่นก็เป็นขั้นตอนทั้งหมดที่เราได้รวบรวมและเอามาเรียบเรียงให้คุณ หากต้องการรายละเอียดแบบเชิงลึก ตามโจทย์ของสินค้าและแบรนด์ของคุณ สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญของเราได้ตลอดเวลา"